การทำงาน ของ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม

นายณัฐวุฒิ ประกอบอาชีพเป็นทนายความ ประจำสำนักงานกฎหมายเสนีย์อรรถการีย์ และสำนักงานกฎหมายศิริธรรม และรับราชการเป็นข้าราชการชั้นตรี ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี

ในทางการเมือง ถือเป็นสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ในยุคเบื้องต้นก่อตั้งพรรค ด้วยการเป็นกรรมการบริหารและบรรณารักษ์ ดูแลงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ของพรรคเป็นคนแรก รวมถึงเป็นทนายความว่าความให้พรรคประชาธิปัตย์ จากการถูกฟ้องจาก นายผัน สุขสำราญ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2501 ซึ่งถือเป็นคดีความครั้งแรกของทางพรรคด้วย

นายณัฐวุฒิ ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในจังหวัดพระนคร เมื่อการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 ครั้งแรก แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมาทั้งหมด 75,784 คะแนน เป็นลำดับที่ 14 (จากทั้งหมด 9 ลำดับ) และได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งซ่อมแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2501 พร้อมกับสมาชิกพรรครุ่นเดียวกัน เช่น นายเล็ก นานา, นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์, พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นต้น

จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งเทศมนตรีนครกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2511 และเป็น ส.ส.พระนคร อีกครั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 และเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร 2 สมัย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 และพ.ศ. 2519

เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1]

นอกจากงานการเมืองแล้ว นายณัฐวุฒิยังเป็นนักเขียนสารคดีแนวประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศมากมาย รวมถึงชีวประวัติบุคคลสำคัญต่าง ๆ ด้วย เช่น พระประวัติและนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พ.ศ. 2505), ผู้สร้างวรรณกรรม (พ.ศ. 2520), นายควง อภัยวงศ์ กับ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2522), ในหลวงอานันท์ (พ.ศ. 2522) เป็นต้น และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นราชบัณฑิต ประเภทประวัติศาสตร์

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ นางประจบ รัตนวิเชียร มีบุตรชายหญิงอย่างละหนึ่งคน

นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2547[2] [3]

ใกล้เคียง

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ณัฐวุฒิ สกิดใจ ณัฐวุฒิ เจนมานะ ณัฐวุฒิ หมัดยะลาน ณัฐวุฒิ แสนยะบุตร ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม ณัฐวุฒิ พิมพา ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ณัฐวุฒิ ศรีหมอก